Last updated: 24 ก.ย. 2565 | 1379 จำนวนผู้เข้าชม |
เมืองต้นแบบแห่งคุณภาพชีวิต
นอกจากการมองเมืองในแบบภาพรวมแล้ว แต่ละพื้นที่ยังมีบริบทด้านวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และเรื่องราวที่แตกต่างแยกย่อยกันออกไปอีก หัวใจสำคัญของเมืองที่รักคนคือ การคงรักษาเอกลักษณ์ของแต่ละภูมิภาคของเมืองให้ยังคงสอดประสานไปกับเรื่องราวในชีวิตประจำวันของผู้คน เพื่อรักษาคุณค่าของความหลากหลายในแต่ละพื้นที่ ไปพร้อมกับการฟื้นฟูเมืองให้เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นในบริบทของตัวเอง
ภายใต้ร่มของการพัฒนาเมืองเพื่อผู้คน เครื่องมือด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีถูกนำมาใช้ต่อยอดเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีกว่าเดิม ด้วยคอนเซ็ปต์ของเมืองสมาร์ท ซึ่งเป็นความพยายามของภาครัฐที่จะใช้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์เพื่อเติมเต็มเมืองอุตสาหกรรมชั้นนำไปพร้อมกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี
เมื่อสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อความเป็นอยู่มีความมั่นคง และสร้างเสถียรภาพด้านการใช้ชีวิตให้กับผู้คนได้แล้ว พิมพ์เขียวเหล่านี้กลายเป็นต้นแบบชั้นดีให้กับทั้งในเกาหลี และขยายผลไปสู่การสร้างสรรค์เมืองอื่นๆ ตามบริบทเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น ยกตัวอย่างเมือง Bucheon ในจังหวัด Gyeonggi เมืองแห่งหนังสือและนักคิดนักเขียน ที่กลายมาเป็นเมืองแห่งวรรณกรรมของ UNESCO พร้อมกับมีการเปิดรับศิลปินในพำนักในสายนักเขียนและกวี หรือ Gwangju เมืองในตอนใต้ของเกาหลีซึ่งเป็นเมืองหลักของอุตสาหกรรม LED นั่นทำให้งาน Gwangju Design Biennale ที่จัดขึ้นทุกสองปีมีไฮไลต์สำคัญอยู่ที่การสร้างสรรค์ประติมากรรมและอินสตอลเลชั่นจากแสงไฟ พร้อมกับตอนนี้ที่ประกาศตัวเป็น AI-Centered City อย่างเป็นทางการ
จากความสำเร็จในเรื่องการสร้างสรรค์เมืองรักคนของกรุงโซล เป็นบทเรียน ความหวัง ต้นแบบ และเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนทั่วโลก รวมทั้งกับเมืองไทยของเราด้วย การเติบโตไปสู่การเป็น ‘เมืองรักคน’ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม สู่เป้าหมายร่วมกันที่สาธารณูปโภคที่ดี แก้ไขปัญหาเมืองด้วยรูปลักษณ์และฟังก์ชั่นที่ดี ทั้งหมดนี้ก็เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับทุกคนในประเทศได้อย่างเท่าเทียมกัน
ที่มาบทความและรูปภาพ : https://ngthai.com/travel/42649/seoul-city-people/
28 ต.ค. 2567
31 ต.ค. 2567