เรียนรู้อย่างเข้าใจ Carbon Credit และ Carbon Footprint เพื่อโลก-เพื่อเรา

Last updated: 9 ก.ค. 2567  |  244 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เรียนรู้อย่างเข้าใจ Carbon Credit และ Carbon Footprint เพื่อโลก-เพื่อเรา

สำหรับบทความเพียง 2-3 หน้านี้ จึงพยายาม จับประเด็นและร้อยเรียงถ้อยคำที่เข้าใจไม่ยากให้ท่านผู้อ่าน ได้เข้าใจพื้นฐานให้เพียงพอจะร่วมวงสนทนา หรือปรับแผนธุรกิจรองรับเรื่องของคาร์บอนที่กำลังจะเปลี่ยนผ่าน จากภาคสมัครใจมาเป็นภาคบังคับในอนาคตอันใกล้นี้แล้ว

ขอไม่อธิบายว่าทำไมโลกร้อน แต่นักวิทยาศาสตร์ สามารถยืนยันได้ว่าหากอุณหภูมิของโลกสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส จากเดิมที่เคยเป็นอยู่ มนุษย์จะดำรง ชีวิตอยู่ด้วยความยากลำบาก เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจ กับคำศัพท์ใหม่ๆ อย่างน้อย 2 คำ คือ คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ทั้ง 2 คำเป็นความเหมือนที่แตกต่าง ท่านที่สนใจ หรือเริ่มเรียนรู้เรื่องของคาร์บอน ควรศึกษาจากอินโฟกราฟิก ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานนี้ เพื่อจะได้เห็นภาพรวมก่อนจะไปต่อ
1. สัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยเมื่อ พ.ศ. 2562 รวมทั้งสิ้น 372.8 ล้านตันคาร์บอนเทียบเท่า (TCO2e) คิดเป็น 0.88% ของ ทั้งโลก แต่ประเทศไทยกลับเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบเป็นอันดับ 9 ของโลก เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ของโลก

2. คาร์บอนหรือก๊าซเรือนกระจกเกิดขึ้นจากภาคพลังงานสูงถึง 69.96% ภาคเกษตร 15.23% ภาคอุตสาหกรรม 38.3% และของเสีย 16.9% ดังนั้นจึงควรแก้ไขในส่วนที่ส่งผลกระทบมากเป็นพิเศษ จึงไม่ต้องแปลกใจ ที่ถนนทุกสายมุ่งมาลดคาร์บอนที่ภาคพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า หลากหลายรูปแบบ อีกทั้งเชื้อเพลิงชีวภาพต่างๆ รวมถึงน้ำมันที่ใช้กับ เครื่องบิน (SAF) ซึ่งถูกจับตาว่าสร้างมลพิษอย่างมากมาย สำหรับภาค เกษตรกรรม สิ่งที่น่ากังวลก็คือ การปลูกข้าวที่ยังต้องใช้ระบบน้ำขัง ทำให้ เกิดก๊าซมีเทน สำหรับภาคอุตสาหกรรมถึงแม้จะมีตัวเลขค่อนข้างสูงเป็น อันดับที่ 2 แต่ภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะมีมาตรการในการลดคาร์บอน เพื่อให้สามารถขายสินค้าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าส่งออก สำหรับ ของเสีย ซึ่งรวมถึงขยะชุมชนและขยะอุตสาหกรรม ได้มีเทคโนโลยีการนำ ของเสียเหล่านี้มาใช้เป็นพลังงาน แถมยังอาจได้คาร์บอนเครดิตและ ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ลงอีกด้วย

กลไกการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศ ที่เราเรียกว่า T-VER ม กิจกรรมต่างๆ มากมาย ตั้งแต่พลังงานหมุนเวียน การประหยัดพลังงาน ไปจนถึงการปลูกต้นไม้ ฯลฯ โดยปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือ กักเก็บได้ เราเรียกว่า คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) เป็นคำที่เรา ต้องจำและเข้าใจไปตลอด อีกคำศัพท์ที่เราต้องทั้งจดทั้งจำไปตลอดกาล ก็ว่าได้คือ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint)
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (CF) หมายถึง ปริมาณรวม ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ และ ก๊าซมีเทน เป็นต้น ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ สามารถแยกออกได้เป็น 3 หัวข้อหลัก คือ 1. คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint Organization : CFO) 2. คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint Product : CFP) 3. Carbon Footprint ของบุคคล รวมถึงด้านบริการด้วย โดยในบทความนี้จะขอกล่าว เฉพาะหลักๆ 2 หัวข้อ คือ CFO และ CFP ดังต่อไปนี้

1. คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (CFO) หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมของ องค์กร ตั้งแต่การใช้เชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การขนส่ง ไปจนถึง การจัดการของเสีย โดยพิจารณาจาก 3 ส่วนหลัก ที่เราเรียก จนชินว่า สโคป (Scope) ดังนี้ (โปรดดูภาพประกอบเพื่อความ เข้าใจมากยิ่งขึ้น)

Scope 1 : การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ทางตรงขององค์กร (Direct Emissions) เช่น การประหยัด พลังงานใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ การใช้รถไฟฟ้า การจัดการของเสีย เป็นต้น

Scope 2 : ทางอ้อม (Indirect Emissions) คือ การใช้พลังงานจากภายนอก โดยการซื้อเข้ามาใช้ ตัวอย่างเช่น ไฟฟ้า หรือไอน้ำ

Scope 3 : ทางอ้อมด้านอื่นๆ (Other Indirect Emissions) คือ กิจกรรมจากภายนอกตั้งแต่ต้นน้ำ (ก่อนเข้าสู่ โรงงาน) จนถึงกิจกรรมปลายน้ำ (ภายหลังออกจากโรงงาน)

2. คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ (CFP) หมายถึง ปริมาณก๊าซ เรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฏจักรชีวิต ของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่วัตถุดิบ การผลิต การจัดจำหน่าย การขนส่ง ไปจนถึง การใช้งานและจัดการของเสีย
อย่างไรก็ตาม ทั้ง 3 Scope เป็นเพียงการตรวจวัด ยังไม่ใช่วิธีการ ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ทั้ง 2 รูปแบบใช้วิธีการคำนวณ (ไม่สามารถชั่งตวง หรือวัดได้) ออกมาในรูปแบบของกรัม กิโลกรัม หรือตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า (เช่น Kg CO2e) จึงมีคำถามว่า แล้วทำเพื่ออะไร คำตอบเข้าใจ ง่ายๆ ก็คือ ก๊าซเรือนกระจกใดๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจากองค์กรหรือผลิตภัณฑ์ เปรียบเสมือนคนอ้วนน้ำหนักเกินที่ต้องหาวิธีลดส่วนเกิน หากเป็นมนุษย์ ก็อาจจะใช้วิธีลดอาหาร ออกกำลังกาย กินยา หาหมอ เป็นต้น ในโลกของ คาร์บอนฟรุตพริ้นท์ (CF) ก็เช่นกัน การลดปริมาณคาร์บอนสามารถทำได้ หลากหลายวิธี หลากหลายกิจกรรมที่ต้องเรียนรู้ หากเราไม่ลดคาร์บอน ส่วนเกินได้ ในที่สุดก็จะต้องถูกเก็บภาษีตาม พ.ร.บ. ที่กำลังจะบังคับใช้ ในเร็วๆ นี้
คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เราลดหรือกักเก็บได้ โดยใช้กลไกของการลดก๊าซ เรือนกระจก เช่น การเปลี่ยนจากรถใช้น้ำมันมาเป็นรถไฟฟ้า เปลี่ยน เชื้อเพลิงหม้อไอน้ำ (Boiler) จากน้ำมันเตาเป็นชีวมวลและชีวมวล อัดแท่ง (Wood Pellets) โรงไฟฟ้าแก๊สธรรมชาติเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิง RDF : Refuse Derived Fuel รวมทั้งการปลูกป่าเพื่อขายคาร์บอน เครดิตทั้งหลายที่ต้องผ่านกลไกการตรวจประเมินและรับรองจาก TGO : องค์การจัดการก๊าซเรือนกระจกที่ออกหนังสือรับรอง แล้วจึง จะนำมาซื้อขายสร้างรายได้หรือใช้ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในองค์กร นั่นเอง

คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) คู่คล้ายคู่เคียง เราต้องเข้าใจและแยกให้ออก จึงจะเดินหน้าต่อไปได้ ความเข้าใจแบบสามัญชนก็คือ คาร์บอนเครดิต ย่ิงมีมากย่ิงดี ขายเป็นทรัพย์สินได้ ส่วนคาร์บอนฟุตพร้ินท์ ยิ่งมาก ยิ่งไม่ดี เพราะอาจต้องเสียภาษีส่วนเกิน ถ้าคาร์บอนฟุตพริ้นท์สูงเกินไป แล้วต้องการลด สามารถไปขอซื้อคาร์บอนเครดิตมาหักลบได้ ซึ่งวิธีน้ี เราเรียกว่า การชดเชยปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Carbon Offset)

เมื่อท่านอ่านถึงตรงนี้ คาร์บอนไม่ใช่เรื่องยาก แต่เมื่อกติกาโลก จากการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ (COP) ครั้งที่ 28 หรือ COP28 ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่ด้วย ทำให้เกิด ศัพท์ใหม่อีก 2 คำ คือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) จึงทำให้ Carbon Credit และ Carbon Footprint เป็นยำใหญ่ผสม เครื่องแกงอีกมากมาย ท่านผู้อ่านต้องจำให้มั่นๆ ว่า Carbon Credit และ Carbon Footprint คืออะไรก่อน สำหรับคำศัพท์ที่ชวนเข้าใจยาก ต่อไปนี้ เป็นเรื่องควรรู้ แต่อาจไม่จำเป็นจะต้องลงลึกถึงขั้นคำนวณได้ เนื่องจากมีบริษัทที่ปรึกษามากมายพร้อมให้คำปรึกษา
1. CBAM (อ่านว่า ซี-แบม) ย่อมาจาก Carbon Border Adjustment Mechanism เข้าใจง่ายๆ คือ การเก็บภาษีคาร์บอนกับ สินค้าก่อนข้ามพรมแดนไปยังสหภาพยุโรป นอกเหนือจากภาษีนำเข้า หรือส่งออกตามปกติ

2. อัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว Utility Green Tariff (UGT) UGT1 หรือ UGT2 หรือ Renewable Energy Certificate (REC) (อ่านว่า เหร็ก) ทั้ง 3 รูปแบบเป็นวิธีการที่ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถซื้อไฟจาก พลังงานหมุนเวียนที่ประเทศไทยผลิตอยู่ และผ่านการรับรองจาก TGO โดยสามารถเลือกได้ว่าจะใช้รูปแบบใดที่เหมาะสมและมีต้นทุนต่ำที่สุด เพื่อต้องการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์

3. THAILAND Taxonomy มาตรฐานกลางสู่เศรษฐกิจ สีเขียว โดยแบ่งกลุ่มตามสีเพื่อแบ่งประเภทธุรกิจตามการใช้พลังงาน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar) จะอยู่ในกลุ่มสีเขียว ชีวมวลจะอยู่ ในกลุ่มสีเหลือง โรงไฟฟ้าอื่นๆ อาจเป็นสีเทา ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็น สีแดง เนื่องจากมาจากฟอสซิล เป็นต้น

การปลูกต้นไม้เพื่อขายคาร์บอนเครดิตควรมีพื้นที่ปลูกไม้ยืนต้น ไม่น้อยกว่า 10 ไร่ขึ้นไป มีเอกสารสิทธิ์ตามกฎหมาย มีความรู้ในการ ประเมินหรือว่าจ้างที่ปรึกษา มีความพร้อมในการว่าจ้างผู้ตรวจประเมิน โดยปกติต้นไม้จัดเก็บคาร์บอนไว้ที่ใบ 1% กิ่ง 11% ราก 26% และลำต้น 62% มีหลายหน่วยงานส่งเสริมด้านนี้ นอกจากจะเป็นการสร้างงานแล้ว ยังเป็นการปลูกป่าอีกด้วย ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงความคุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการเตรียมโครงการและค่าทวนสอบรับรองโครงการด้วย

เรื่องของคาร์บอนเครดิตและคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นเรื่องของ การรักษาโลกใบนี้ไว้ให้ลูกหลาน และเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ อยู่ที่ว่า เราจะยืนอยู่ตรงไหน มีรายละเอียดเชิงลึกมากมายที่เราต้องเรียนรู้ หากผู้อ่านทำความเข้าใจเบื้องต้นที่เขียนแบบเข้าใจง่ายๆ นี้ ก็จะ สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ง่าย ซึ่งความจริงแล้ว ผู้บริหารหรือเจ้าของ กิจการก็อาจไม่จำเป็นต้องรู้ลึกถึงขั้นคำนวณราคาคาร์บอนเครดิตได้ ต้องขอขอบคุณ วิวัฒน์ โฆษิตสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอดวานซ์ เอ็นเนอร์ยี่ พลัส จำกัด และ สุริยัน สัมฤทธิ์ Sustainability Business Develop Manager บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด จากข้อมูลของ อบก. ประเทศไทยมีการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ในโครงการ T-VER (ทั้งแบบ OTC และ FTIX) ในเดือนมีนาคม 2567 จำนวน 419,178 tCO2e มูลค่าซื้อขายสูงถึง 69,893,450 บาท
Carbon Credit and Carbon Footprint are new words which we should recognize and learn to understand. To make the long story short, the carbon footprint (CF) divides into 2 categories; Carbon Footprint Organization: CFO and Carbon Footprint Product: CFP. The CFO is divided into 3 scopes depending on how the carbon is generated. The CBAM becomes the new standards for everyone who wants to do business with European. In Thailand we starting the green electricity by developing UGT1, UGT2 and REC to buy and sell locally. Thailand also has the taxonomy to define business activities in colors. These colors may receive different privilege when acquire loans. Lastly, The TGO website states that 419,178 tCO2e (69,893,450 baht) is the amount of T-VER trading in 2024. (Summarized by Sarah Sunshine)
จากวิกฤตสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จำเป็นต้องลดปริมาณ การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้นานาประเทศต้องร่วมมือกันและมุ่งสู่การปล่อย ก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายใน ค.ศ. 2050 กลไกตลาดเพื่อจูงใจให้ ทุกภาคส่วนลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสู่เป้าหมายดังกล่าว คือ คาร์บอนเครดิต โดยคาร์บอนเครดิตคือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลด/กักเก็บได้จากการดำเนินโครงการ ลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกการลดก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถนำคาร์บอนเครดิตไปแลกเปลี่ยนหรือซื้อ-ขายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ สำหรับ ประเทศไทย มีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) ซึ่งเป็น องค์กรภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานในการวิเคราะห์ กลั่นกรองและรับรองโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของ ประเทศไทย หรือ T-VER (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) โครงการ ที่เข้าร่วมจะต้องเป็นโครงการที่เข้าข่ายด้านพลังงานทดแทน การขนส่ง ประสิทธิภาพ พลังงาน (Energy Efficiency) โรงงาน ของเสีย การใช้ที่ดิน (เกษตรและป่าไม้) การดักจับ กักเก็บ และการใช้ประโยชน์จากก๊าซเรือนกระจก 14 ประเภทนี้
โครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่สามาถพัฒนาเป็นโครงการ T-VER ได้ ต้องเข้าข่าย ประเภทโครงการ ดังต่อไปนี้
ที่มา : องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานคาร์บอนเครดิตของต่างประเทศที่ได้รับความนิยม เช่น VCS (Verified Carbon Standard) โดย Verra (USA), GS (The Gold Standard) โดย The Gold Standard Secretariat (Switzerland)

ปัจจุบันนี้ตลาดคาร์บอนมี 2 ประเภท ได้แก่ 1) ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Mandatory Carbon Market) คือ ตลาดคาร์บอนที่จัดตั้งขึ้น ตามการบังคับใช้กฎหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีรัฐบาลเป็นผู้ออกกฎหมายและกำกับดูแลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ เป็นตลาดสำหรับหน่วยงานที่มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าก็จะ ถูกลงโทษ ส่วนผู้ที่ดำเนินการได้ตามเป้าหมาย มีโอกาสได้รับสิทธิประโยชน์หรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับกฎหมายกำหนด และ 2) ตลาดคาร์บอน แบบภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market) คือ ตลาดคาร์บอนที่เกิดจากความร่วมมือกันของผู้ประกอบการหรือหน่วยงานต่างๆ ไม่ได้มี กฎหมายควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาบังคับจัดตั้ง แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมซื้อขายคาร์บอนเครดิตด้วยความสมัครใจ ไม่มีผลผูกพัน ตามกฎหมายแต่อย่างใด

สำหรับคาร์บอนเครดิตตามมาตรฐานไทยจากโครงการ T-VER ยังไม่เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ ดังนั้นจึงเป็นการซื้อขายในประเทศไทย เท่านั้น โดยสามารถซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้ 2 รูปแบบ คือ การซื้อขายในระบบทวิภาค (Over the Counter : OTC) เป็นการตกลงซื้อขายคาร์บอน เครดิตระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยไม่ผ่านตลาด และการซื้อขายผ่านแพล็ตฟอร์ม (Exchange Platform) เช่น “FTIX” ซึ่งเป็นแพล็ตฟอร์มของ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและผ่านการรับรองจาก อบก. แล้ว ปัจจุบันราคาการซื้อขายคาร์บอนเครดิตเฉลี่ย ณ ปัจจุบันประมาณ 107.64 บาท/ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) ส่วนในยุโรปราคา 80 ยูโร/ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e)
Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 122 มีนาคม – เมษายน 2567 คอลัมน์ บทความ โดย พิชัย ถิ่นสันติสุข

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้