Last updated: 10 ก.ค. 2564 | 4406 จำนวนผู้เข้าชม |
กรรมวิธีระเบิดด้วยไอน้ำถูกคิดค้นในปี 1925 เพื่อใช้สำหรับการเตรียมเยื่อจากชิ้นไม้สับหรือจากวัตถุดิบคล้ายคลึงไม้ที่มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ สำหรับใช้ผลิตแผ่นใยชีวภาพอัดแข็ง (hardboard) ในกระบวนการนี้ชิ้นไม้สับหรือวัตถุดิบคล้ายคลึงไม้ที่มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบจะถูกนำไปกระทำด้วยความดันไอน้ำที่สูงถึง 69 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร (kgf/cm2) และอุณหภูมิสูงถึง285 C หลังจากนั้นชิ้นไม้สับที่ถูกกระทำความดันไอน้ำนี้ก็จะถูกปลดปล่อยออกจากหม้อปฏิกิริยาแบบทันที เส้นใยในชิ้นไม้ก็จะแตกตัวออกจากกันทำให้ได้ผลผลิตในลักษณะที่เป็นเยื่อ
การระเบิดด้วยไอน้ำมีข้อดีกว่ากระบวนการที่ใช้สารเคมีแบบดั้งเดิมคือ เป็นวิธีการแยกองค์ประกอบที่ใช้การแยกแบบเชิงกล เชิงความร้อน และเชิงเคมีไว้ด้วยกัน ทำให้เลือกสัดส่วนการแยกองค์ประกอบต่างๆ ได้ดีขึ้น ซึ่งทำให้มีความสมบูรณ์ในการนำองค์ประกอบต่างๆ ได้ดีขึ้น ซึ่งทำให้มีความสมบูรณ์ในการนำองค์ประกอบจากพืชกลับมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่า และกระบวนการนี้ยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยเนื่องจากไอน้ำไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม กรรมวิธีการระเบิดด้วยไอน้ำสามารถแยกองค์ประกอบทางเคมีต่างๆ ของชีวมวล (วัตถุดิบประเภทลิกโนเซลลูโลส) ออกจากกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเฮมิเซลลูโลสซึ่งละลายออกมาพร้อมกับน้ำในขั้นตอนการระเบิดด้วยไอน้ำ ลิกนินซึ่งสามารถละลายในเมทานอลหรือด่าง และเซลลูโลสซึ่งได้ออกมาในลักษณะเยื่อหรือเส้นใยซึ่งสามารถย่อยได้ดีด้วยเอนไซม์
ดังนั้น จึงมีการใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากกระบวนการระเบิดด้วยไอน้ำ คือ ใช้ในการพรีทรีตเมนท์วัตถุดิบชีวมวล เพื่อนำองค์ประกอบทางเคมีต่างๆที่ได้ ไปใช้ประโยชน์ในการผลิต Biochemical และการผลิตพลังงานพวก Bioethanol
9 ก.ค. 2567